http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 22 เมษายน 2568 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในชั้นร้องทุกข์ กล่าวโทษ การให้ปากคำ และคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยานในชั้นการ ไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาและการสืบพยานในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศหรือ คดีที่มีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง) 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาต ขับรถ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2560)
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณี พิเศษ โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบของคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในหรือ ออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เศรษฐกิจ-สังคม 6. เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุม (เพิ่มเติม) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและ บริการ พ.ศ. 2542 7. เรื่อง ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2533 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและ
หนังงู ที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร และมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและหนังงูที่ยังไม่แปรรูปออก นอกราชอาณาจักร 8. เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การปรับปรุงพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 9. เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบรรจุบุคคลผู้ซึ่งเคยออกจากราชการ เพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการ 10. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของบริษัท ศิลา สัมพันธ์ จำกัด ที่จังหวัดพัทลุง 11. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี 2568
12. เรื่อง การปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 13. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 เรื่อง มาตรการส่งเสริม งานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) 14. เรื่อง ขอความเห็นชอบอนุมัติใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติมและขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพิ่มเติม
ต่างประเทศ
15. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้ กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านข้าง ประจำปี พ.ศ. 2567 16. เรื่อง การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการบินพลเรือน (เดลี) 17. เรื่อง การรับรองปฏิญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ (COP28 Declaration on Climate and Health) 18. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของ เสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 17 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ
สมัยที่ 12 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่
ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 12
19. เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความ ร่วมมือด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมข้ามแดน 20. เรื่อง การจัดทำร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ ณ จุดผ่าน แดนถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี 21. เรื่อง แผนปฏิบัติการร่วมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย ? กัมพูชา พ.ศ. 2568 ? 2569 (Joint Plan of Action for Thailand ? Cambodia Strategic Partnership 2025 ? 2026) 22. เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทางหลวง พิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา 23. เรื่อง เงินกู้จากธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) สำหรับโครงการ พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (ก่อสร้างทางวิ่งและ
ทางขับที่ 2)
24. เรื่อง ร่างบันทึกความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างกระทรวง ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการ พัฒนาดิจิทัล นวัตกรรม และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศแห่งสาธารณรัฐ คาซัคสถาน แต่งตั้ง 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 27. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการแก้ไขปัญหาธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ 28. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การ บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย 30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา 31. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน) 33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทน องค์กรศาสนาอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงาน
การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 36. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย 37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในชั้นร้องทุกข์กล่าวโทษ การให้ปากคำ และคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยานในชั้นการไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาและการสืบพยานในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศหรือคดีที่มีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยานจากการนึกถึงความทรงจำหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรงไว้เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายหรือพยานนั้นเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี โดยการกำหนดให้มีสหวิชาชีพร่วม (บุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ) เข้ามามีบทบาทในชั้นการสอบสวน ภายใต้สถานที่ที่เป็นส่วนสัดสำหรับเด็ก ทั้งยังห้ามถามปากคำเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร และยังกำหนดให้สามารถนำสื่อภาพและเสียงที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวนมาถ่ายทอดในชั้นศาลแทนการเบิกความในชั้นศาลเพื่อป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้นกับเด็กนั้น อย่างไรก็ตาม หลักการคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยานจากการนึกถึงความทรงจำหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรงดังกล่าวไม่ครอบคลุมไปถึงผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นบุคคลอายุเกินสิบแปดปี ซึ่งหากเป็นกรณีผู้เสียหายหรือพยานเป็นบุคคลอายุเกินสิบแปดปี แม้ว่าการเบิกความในชั้นศาลจะส่งผลร้ายหรือผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของบุคคลนั้นอย่างรุนแรงแต่ก็ไม่สามารถใช้มาตรการใดเพื่อคุ้มครองบุคคลดังกล่าวได้โดยตรง คงใช้ได้แต่มาตรการที่คุ้มครองในด้านอื่น ๆ เช่น การสืบพยานโดยไม่เผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลย ซึ่งแม้ว่าอาจแก้ปัญหาเกี่ยวกับความกลัวเกรงที่ผู้เสียหายมีต่อจำเลยได้ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาสภาพจิตใจของผู้เสียหายจากการต้องนึกถึงข้อเท็จจริงที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจได้ 2.ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับคำร้องทุกข์ การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยาน การไต่สวนมูลฟ้อง และ การพิจารณาและการสืบพยานในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น คดีอนาจาร คดีข่มขืนกระทำชำเรา ฯลฯหรือคดีที่มีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง เช่น คดีที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (ทำร้ายร่างกายบุคคลในครอบครัว ฯลฯ) เพื่อให้มีมาตรการคุ้มครองพยานและผู้เสียหายที่อายุเกิน 18 ปีได้เช่นเดียวกับ การคุ้มครองพยานและผู้เสียหายที่ใช้กับผู้ที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี โดยกำหนดให้การรับคำร้องทุกข์ การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยาน ในคดีที่ผู้เสียหายหรือพยานในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศหรือคดีที่มีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรงต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดและจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำภายใต้ความยินยอมของผู้เสียหายหรือพยาน กำหนดให้ศาลมีอำนาจในการจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายหรือพยานที่ได้บันทึกไว้ในขั้นสอบสวนหรือในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล (กรณีพยานหรือผู้เสียหายที่มีอายุเกิน 18 ปี ในชั้นการพิจารณาของศาล ยังคงมาปรากฏตัวต่อศาลแต่หากเป็นพยานหรือผู้เสียหายที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี อาจไม่มาศาลได้หากมีเหตุจำเป็น อย่างยิ่ง เช่น ป่วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี วรรคสี่) ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ 3.กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และ การต่ออายุใบอนุญาตขับรถ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ปัจจุบันการขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้ประชาชนต้องมาดำเนินการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายด้วยตนเองทุกครั้งที่ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ณ ที่ทำการของนายทะเบียน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก มีภาระค่าใช้จ่ายและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางมา ณ ที่ทำการของนายทะเบียนและไม่สอดคล้องกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 และตามนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e - Government) 2. กระทรวงคมนาคม (กรมการขนส่งทางบก) จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง การขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 2.1 ยกเว้นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย สำหรับการขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ซึ่งผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถต้องมีอายุไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงื่อนไขด้านสภาพร่างกายตามที่ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด 2.2 กำหนดให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถซึ่งมีอายุและเงื่อนไขของสภาพร่างกายหรือเงื่อนไขอื่นตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดต้องทดสอบสมรรถภาพของร่างกายซึ่งอย่างน้อยต้องทำการทดสอบความสามารถของปฏิกิริยาและสายตาและผ่านการอบรม 2.3 กฎกระทรวงนี้ให้มีผลเริ่มใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตขับรถสามารถดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดให้มีวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก ลดภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทางมาติดต่อราชการและ ยังคงมาตรฐานในการตรวจสอบและคัดกรองผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถต่อไปประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยในหลักการ 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2560) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2560) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง 1. ภายหลังการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2560 ปรากฏว่านโยบายของรัฐบาลได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกรมทางหลวงแจ้งว่ามีแผนงานพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม - ชะอำ (M8) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองตามแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย และแนวเส้นทางโครงการดังกล่าวได้ผ่านพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี มีผลให้กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรีฯ ดังกล่าว มีข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม - ชะอำ (M8) ได้ 2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2560) ที่ มท. เสนอ มีสาระสำคัญเป็น การแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภค และกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการสาธารณูปโภคที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือภายใต้การกำกับดูแลโดยหน่วยงานของรัฐไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับประเภท ชนิด ขนาด ที่ว่างหรือความสูงของอาคารตามที่กำหนดไว้ในที่ดินตามที่ได้จำแนกไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อรองรับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ การก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม - ชะอำ (M8) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่าง เมืองตามแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยและรองรับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นประโยชน์กับประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้พิจารณาในประเด็นข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง ปัจจุบันอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตให้เอกชนเข้าทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติ ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1221 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งต่อมาได้ออกพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่าใหม่แทนอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่าเดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ทำให้อัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าดังกล่าวที่ใช้บังคับในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับบัญชีท้ายพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และสภาพเศรษฐกิจและสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า พ.ศ. .... โดยยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1221 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าเพื่อให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าที่ใช้บังคับในปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญ (1) ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมของหนังสืออนุญาตให้บุคคลเข้าไปทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยของเอกชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นจากเดิมตามระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เช่น อัตราค่าธรรมเนียมของหนังสืออนุญาตเพื่อการผลิตปิโตรเลียมหรือเพื่อทำเหมืองแร่ ไร่ละ 5,000 บาท (ปัจจุบัน กำหนดไร่ละ 500 บาท) เพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะไร่ละ 5,000 บาท (ปัจจุบันไม่มีการกำหนด) หรือศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการไร่ละ 10 บาท (ปัจจุบันกำหนดไร่ละ 10 บาท) และระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่ามีการทำลายสภาพป่ามากน้อยเพียงใด รายได้จากการได้รับอนุญาตเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และคำนวณจากค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากการบุกรุกทำลายป่า (2) ปรับปรุงอัตรา ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าสำหรับไม้และของป่าที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายป่าไม้ เช่น ค่าภาคหลวงสำหรับไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติเพื่อการค้า ลูกบาศก์เมตรละ 80 บาท (ปัจจุบันกำหนดลูกบาศก์เมตรละ 20 บาท) ค่าภาคหลวงสำหรับของป่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อการค้า ลูกบาศก์เมตรละ 16 บาท (ปัจจุบันไม่มีการกำหนด) ค่าบำรุงป่าสำหรับไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คิดเป็น 2 เท่าของค่าภาคหลวงสำหรับไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติ1 (ปัจจุบันแบ่งเป็นกรณีไม้ปอกระสา คิดเป็นครึ่งเท่าของค่าภาคหลวงข้อ 3 (1)2 และกรณีไม้ชนิดอื่น ๆ คิดเป็น 2 เท่าของค่าภาคหลวงตามข้อ 3 (1) โดยมีหลักคิดคำนวณจากการพิจารณาอัตราให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อและการแสวงหารายได้จากการดำเนินการของผู้ขออนุญาต
1ร่างข้อ 4 (1) บัญญัติให้ค่าภาคหลวงสำหรับไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมีใช่ไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(ก) เพื่อการค้า ลูกบาศก์เมตรละ 80 บาท (ข) เพื่อการอื่น ลูกบาศก์เมตรละ 40 บาท
สำหรับไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมิใช่ไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ที่ไม่อาจคำนวณเป็นลูกบาศก์เมตรหรือที่นิยมซื้อขายกันตามมาตรฐานอื่นนอกจากเป็นลูกบาศก์เมตร
(ก) เพื่อการค้า ให้คิดร้อยละสิบของราคาตลาดแห่งจังหวัดท้องที่ที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ประกาศกำหนด
(ข) เพื่อการอื่น ให้คิดร้อยละห้าของราคาตลาดแห่งจังหวัดท้องที่ที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ประกาศกำหนด
2กฎกระทรวง ฉบับที่ 1221 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ข้อ3 (1) บัญญัติให้ค่าภาคหลวง สำหรับไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมิใช่ไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(ก) เพื่อการค้า ลูกบาศก์ละ 20 บาท (ข) เพื่อใช้สอยส่วนตัว ลูกบาศก์ละ 20 บาท
สำหรับไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมิใช่ไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ที่ไม่อาจคำนวณเป็นลูกบาศก์เมตรหรือที่นิยมซื้อขายกันตามมาตรฐานอื่นนอกจากเป็นลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นร้อยละสิบของราคาตลาดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ประกาศกำหนด
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบของคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565 กำหนดให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยพาหนะทางอากาศได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6)1 ซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป ต่อมาสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ได้จัดทำระบบแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรในรูปแบบดิจิทัล (Thailand Digital Arrival Card : TDAC) หรือระบบ ตม.6 ออนไลน์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับลงทะเบียนข้อมูลเพื่อเดินทางเข้าประเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Pre-Arrival Digital Registration) โดยเปิดให้ผู้เดินทางสามารถกรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันล่วงหน้าก่อนเดินทางเข้าประเทศ และสามารถตรวจสอบได้ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ทั้งนี้ สตม. ได้เริ่มใช้งานระบบ TDAC ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ในช่องทางอนุญาตตามด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบของคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) และจะประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 โดยให้บริการแก่ผู้เดินทางทุกช่องทางอย่างครอบคลุม ซึ่งระบบดังกล่าวได้รับการออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการท่องเที่ยว การรักษาความมั่นคง และการวางแผนยุทธศาสตร์รวมทั้งการยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในด้านการบริหารจัดการเขตแดนแบบอัจฉริยะสนับสนุนการพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
2. ตร. (สตม.) ได้หารือกับกรมการกงสุล กต. และ กก. ในเบื้องต้นแล้ว ไม่ขัดข้องต่อการให้คนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยพาหนะทางอากาศใช้งานระบบแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรในรูปแบบดิจิทัล TDAC หรือระบบ ตม.6 ออนไลน์ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568
3. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 เรื่อง การประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมการให้บริการระบบ ตม.6 ออนไลน์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมการให้บริการระบบ ตม.6 ออนไลน์ โดยใช้ชื่อ Thailand Digital Arrival Card : TDAC พร้อมทั้งมอบหมายให้ กก. และ สตม. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ระบบ ตม.6 ออนไลน์
4. นอกจากนี้ ตร. ได้รายงานประโยชน์และผลกระทบจากการใช้งานระบบ TDAC หรือระบบ ตม.6 ออนไลน์ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคนเข้าเมืองในการบันทึกข้อมูลของคนต่างที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เสริมสร้างความปลอดภัยและคัดกรองบุคคล ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถกรอกข้อมูลล่วงหน้า ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลที่ต้องดำเนินการเมื่อมาถึงและลดความแออัดบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง
1คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ( 14 มิถุนายน 2565 ) เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการดำเนินการเพื่อยกเว้นการยื่นรายการของคนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) กรณีการเดินทางผ่านด่านท่าอากาศยานเป็นการชั่วคราว เศรษฐกิจ-สังคม 6. เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุม (เพิ่มเติม) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายการสินค้า จำนวน 2 รายการ ได้แก่ (1) สินค้าเครื่องฟอกอากาศ และ (2) สินค้าตัวดูดฝุ่นไฟฟ้า (เครื่องดูดฝุ่น) เป็นสินค้าควบคุม (เพิ่มเติม) ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม กกร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดให้สินค้าหรือบริการใดเป็นสินค้าหรือบริการควบคุมได้ ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 มิถุนายน 2567) เห็นชอบรายการสินค้าและบริการ จำนวน 57 รายการ จำแนกเป็น 52 สินค้า 5 บริการ และ กกร. ได้ออกประกาศ กกร. ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ด้วยแล้ว 2. เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่าสูงเกินมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้ประชาชนมีความต้องการเลือกซื้อสินค้าเครื่องฟอกอากาศและสินค้าตัวดูดฝุ่นไฟฟ้า (เครื่องดูดฝุ่น) เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สินค้าทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณลดลงหรือขาดตลาด ในบางช่วงส่งผลกระทบต่อราคาจำหน่ายของสินค้า เนื่องจากสินค้าดังกล่าว สามารถป้องกันหรือบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ (ฝุ่นละออง) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ ดังนั้น เพื่อให้ กกร. สามารถกำกับดูแลสินค้าและบริการให้มีราคาที่เหมาะสมและมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งเพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม กกร. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ) จึงได้มีมติเห็นชอบกำหนดสินค้าควบคุม (เพิ่มเติม) จำนวน 2 รายการ ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศ และตัวดูดฝุ่นไฟฟ้า (เครื่องดูดฝุ่น) 7. เรื่อง ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2533 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและหนังงู ที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและหนังงูที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2533 เรื่อง ห้ามส่ง งูมีชีวิตและหนังงู ที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและหนังงูที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (9 ตุลาคม 2533 และ 12 พฤศจิกายน 2534) เห็นชอบห้ามการส่งงูมีชีวิตและหนังงูทุกชนิดที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งทำให้ประชาชนและผู้ประกอบกิจการเพาะขยายพันธุ์ งูสวยงามได้รับผลกระทบ โดยในปัจจุบันประเทศไทธมีการเพาะขยายพันธุ์งูสวยงามได้เป็นจำนวนมากและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งประชาชนและผู้ประกอบการเห็นว่ามติคณะรัฐมนตรีข้างต้นมีความล้าหลัง ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการเพาะขยายพันธุ์งูสวยงามสามารถส่งออกงูได้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จึงขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามการส่งงูมีชีวิตและหนังงูทุกชนิดที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักรมาในครั้งนี้ 2. ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกงูมีชีวิตและหนังงูที่ยังไม่ได้แปรรูปออกนอกประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพสูงสามารถผลิตสายพันธุ์งูที่มีความโดดเด่นและเป็นที่ต้องการของตลาด และผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก ถือเป็นข้อได้เปรียบกับประเทศคู่แข่งขันทางการค้า รวมทั้งก่อให้เกิดการสร้างอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงงู เช่น ธุรกิจอาหารงู ธุรกิจอุปกรณ์การเลี้ยงงู ธุรกิจการรักษาพยาบาลงู เป็นต้น รวมทั้งแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติลักลอบนำงูมีชีวิตออกนอกประเทศเพราะสามารถยื่นขออนุญาตส่งออกงูตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และอนุสัญญา CITES ซึ่งถือเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่มีความเข้มงวดในการพิจารณาการอนุญาตนำเข้าและส่งออกสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย 3. กระทรวงทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง โดยมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น ควรควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเพาะพันธุ์และการส่งออกต้องไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 8. เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) พิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเร่งด่วน เพื่อลดอุปสรรคในการประกอบอาชีพของประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการนำเสนอสภาพปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลาเกือบ 25 ปี โดยมีหลักการมุ้งเน้น ?การปกป้อง? ผู้ประกอบการภายในประเทศที่สอดคล้องกับกฎหมายของต่างประเทศในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการไทยไม่เร่งพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากได้รับการปกป้องอย่างเข้มข้นจากกฎหมายดังกล่าว รวมถึงมาตรการกฎหมายในเรื่องดังกล่าวไม่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายฐานการประกอบธุรกิจแห่งอนาคตที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นผลให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น รวมทั้ง ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจแห่งอนาคตโดยเป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างก้าวกระโดดและส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อัตราการจ้างงานและจำนวนภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บได้มีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ ธุรกิจสตาร์อัพ (Startup) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงและมีลักษณะพิเศษในการประกอบกิจการทั้งในเรื่องการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการะดมทุนจากนักลงทุนไทย และนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งกระทบต่อสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ประกอบการที่จะลดน้อยลง เมื่อมีการระดมทุนเพิ่มมากขึ้นจนทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ได้กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าว รวมถึงประเภทของธุรกิจที่ห้ามคนต่างด้าวประกอบกิจการ อันส่งผลกระทบต่อการขยายกิจการของธุรกิจสตาร์ทอัพและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม จึงสมควรมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเปลี่ยนจาก ?การปกป้อง? เป็น ?การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน? โดยคำนึงถึงศักยภาพและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในธุรกิจต่าง ๆ ด้วย โดยเร่งด่วน เพื่อลดอุปสรรคในการประกอบอาชีพของประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาฉาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง โดยกระทรวงการคลัง เห็นว่า การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ควรคำนึงถึงประเภทของธุรกิจและสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงระดับการพัฒนาของแต่ละประเภทธุรกิจภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวด้วย 9. เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบรรจุบุคคลผู้ซึ่งเคยออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบรรจุบุคคลผู้ซึ่งเคยออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ รวมทั้ง มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้สำนักงาน ก.พ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ขอให้นำมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบรรจุบุคคลผู้ซึ่งเคยออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เช่น (1) ให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาเป็นบรรทัดฐานเพื่อแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ โดยให้มีข้อกำหนดว่าเจ้าพนักงานของรัฐที่เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากการทำงานในหน่วยงานของรัฐเพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามในการขอกลับเข้ารับราชการหรือกลับเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ และไม่ให้บรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการหรือบรรจุเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐโดยเด็ดขาด และกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้บังคับบัญชากรณีรับผู้ที่เคยกระทำการทุจริตต่อหน้าที่กลับเข้ารับราชการหรือกลับเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ครอบคลุมหน่วยงานของรัฐทุกประเภท และให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และ (2) ขอความร่วมมือไปยังองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าพนักงานของรัฐประเภทต่าง ๆ ให้นำมติ ก.พ. ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ว 16 ลงวันที่ 23 กันยายน 2556 เรื่อง การบรรจุบุคคลผู้ซึ่งเคยออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการ มาใช้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณารับบรรจุผู้ซึ่งเคยออกจากราชการจากการทำงานในหน่วยงานของรัฐเพราะกระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่แล้วขอกลับเข้ารับราชการหรือขอกลับเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐอีก ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจเสนอมาตรการความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีและเมื่อคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว หากเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ ให้แจ้งปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป ทั้งนี้ ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ครบกำหนดวันที่ 8 มิถุนายน 2568) 10. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของบริษัท ศิลาสัมพันธ์ จำกัด ที่จังหวัดพัทลุง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอผ่อนผันให้บริษัท ศิลาสัมพันธ์ จำกัด (บริษัท ศิลาสัมพันธ์ฯ) ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ ตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2559 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรื่องการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคใต้ และข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ] และวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 (เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ อนึ่ง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่แล้ว อก. โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 กันยายน 2540) เห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อสามารถดำเนินการอนุญาตประทานบัตรเหมืองหินอุตสาหกรรมในบริเวณภูเขารุน ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 บี) ซึ่งต่อมามีผู้ได้รับประทานบัตรสำหรับการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างในเขตพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นระยะเวลา 10 ปี (ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2549 - 27 ธันวาคม 2558) และปัจจุบันประทานบัตรดังกล่าวได้หมดอายุแล้ว ซึ่งตั้งแต่ประทานบัตรดังกล่าวหมดอายุ ยังไม่ได้มีการดำเนินการทำเหมืองแร่ต่อในพื้นที่ดังกล่าว 2. ในครั้งนี้ บริษัท ศิลาสัมพันธ์ จำกัด (บริษัท ศิลาสัมพันธ์ฯ) ได้ยื่นคำขอประทานบัตรสำหรับการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ 42 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่เคยได้ประทานบัตรมาแล้ว และจากการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ที่ขอประทานบัตรในครั้งนี้เป็นพื้นที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี ตามมติคณะรัฐมนตรี และเป็นพื้นที่ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมฉบับที่ 8 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2540 รวมทั้งเป็นพื้นที่ในเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) จึงเป็นพื้นที่ที่พิจารณาอนุญาตให้ทำเหมืองได้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และเนื่องจากพื้นที่ตามคำขอประทานบัตรดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการขอผ่อนผันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (7 พฤศจิกายน 2532 และ 15 พฤษภาคม 2533) เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เพื่อให้บริษัท ศิลาสัมพันธ์ฯ ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าว ในการทำเหมืองแร่ที่ ตำบลพนมวังก์อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ 42 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา 3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง/เห็นชอบในหลักการ/เห็นควรอนุมัติตามที่ อก. เสนอ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีความเห็นเพิ่มเติม เช่น ประเด็น ความเห็นเพิ่มเติม ด้านสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความสามารถในการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษอันเนื่องมาจากการทำเหมืองแร่หินหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการประกอบกิจการด้านการย่อยหินเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ (พม.) การกำกับติดตาม การตรวจสอบและการดำเนินการตามาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ อก. และ ทส. กำชับหน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบดูแล ติดตามบริษัท ศิลาสัมพันธ์ฯ ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมถึงมาตรการ ด้านสาธารณสุข อาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) อย่างเคร่งครัด (ทส. มท. และ สธ.) อื่น ๆ - การปฏิบัติของผู้ขออนุญาตขอให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย โดยเฉพาะการดำเนินการใด ๆ ในเขตพื้นที่ป่าให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 (ทส. และ สธ.) - กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการติดตามตรวจสอบพื้นที่คำขอประทานบัตรทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินโครงการเหมืองแร่ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่คำขอประทานบัตร ว่าเปลี่ยนแปลงไปจากรายงาน EIA หรือไม่ และเพื่อป้องกันมลภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี ที่อยู่รอบบริเวณของพื้นที่โครงการ (สศช.) 11. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน 7,404.34 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 (โครงการการบริหารจัดการน้ำฯ ปี 2568) จำนวน 2,748 รายการ ตามที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในคราวการประชุม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 (โครงการการบริหารจัดการน้ำฯ ปี 2568) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้งให้มีความสอดคล้องตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/2568 จำนวน 8 มาตรการ ได้แก่ (1) คาดการณ์และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ และจัดหาแหล่งน้ำสำรอง (2) สร้างความมั่นคงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พร้อมปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (3) กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด (4) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน (5) เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ (6) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ (7) สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ และ (8) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงได้ดำเนินการให้หน่วยงานเสนอแผนงานโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนสอดคล้อง กับโครงการการบริหารจัดการน้ำฯ ปี 2568 และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อดำเนินการตามโครงการดังกล่าวในวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 51,584 ล้านบาท จำนวน 19,970 รายการ โดยนายกรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการให้หน่วยรับงบประมาณ จำนวน 4 กระทรวง 12 หน่วยงาน ดำเนินตามโครงการการน้ำฯ ปี 2568 จำนวน 2,748 รายการ ภายในกรอบวงเงิน 7,404.34 รายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยมีรายละเอียดแยกรายกระทรวง ดังนี้ หน่วยงาน จำนวนโครงการ วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท) 1) กระทรวงมหาดไทย 2,153 3,743.31 2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 243 1,223.72 3) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 328 2,369.02 4) กระทรวงกลาโหม 24 68.29 รวมจำนวนโครงการและงบประมาณทั้งสิ้น 2,748 7,404.34 12. เรื่อง การปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 (2) ที่ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการเองได้เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้วในเรื่องการปรับค่าจ้างชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดยมีหลักเกณฑ์และอัตราการจ่าย รวมทั้งวันที่มีผลใช้บังคับให้เป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/ว 9 ลงวันที่ 9 เมษายน 2567 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง หากรัฐวิสาหกิจแห่งใดจะไม่ดำเนินการตาม แนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจสามารถพิจารณาดำเนินการได้ตามแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรแต่ละแห่งได้ ทั้งนี้ กรอบวงเงินในการชดเชยในภาพรวมจะต้องไม่สูงกว่าแนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับ อัตราแรกบรรจุของทางราชการ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. กระทรวงแรงงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับค่าจ้างชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 โดยกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่าย รวมทั้งวันที่มีผลใช้บังคับให้เป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/ว 9 ลงวันที่ 9 เมษายน 2567 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง [เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และหากรัฐวิสาหกิจแห่งใดจะไม่ดำเนินการตามแนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจสามารถพิจารณาดำเนินการได้ตามแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรแต่ละแห่งได้ ทั้งนี้ กรอบวงเงินในการชดเชยในภาพรวมจะต้องไม่สูงกว่าแนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของทางราชการที่กำหนดไว้ในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ดังกล่าว 2. สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบรายงาน ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำและการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นการปรับเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อมาสำนักงาน ก.พ. ได้มีหนังสือ ที่ นร 1012.3/ว 9 ลงวันที่ 9เมษายน 2567 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง แจ้งเวียนส่วนราชการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุสำหรับวุฒิที่ ก.พ. รับรอง และการปรับเงินเดือนชดเชยให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุดังกล่าว 3. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รง.) ได้สำรวจข้อมูลจากรัฐวิสาหกิจจำนวน 59 แห่ง เกี่ยวกับการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดยมีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง ตอบแบบสำรวจ โดยมีผลการสำรวจสรุปข้อมูลได้ เช่น (1) จำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2567) จำนวน 51 แห่ง พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ทั้งหมด 232,313 คน แบ่งเป็น พนักงาน จำนวน 199,453 คน และลูกจ้าง จำนวน 32,860 คน (2) การดำเนินการเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุ การปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุ จำนวนรัฐวิสาหกิจ (แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ) รัฐวิสาหกิจ หมายเหตุ ยังไม่ได้ปรับอัตรา ค่าจ้างแรกบรรจุ 43 (84.32) เช่น การเคหะแห่งชาติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การยางแห่งประเทศไทย ธนาคาร ออมสิน อยู่ระหว่าง รอความชัดเจน เกี่ยวกับแนวทาง การชดเชย ผู้ได้รับผลกระทบ ปรับอัตราค่าจ้าง แรกบรรจุและได้จ่าย ค่าจ้างในอัตรา แรกบรรจุใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 แล้ว 3 (5.88) องค์การเภสัชกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล อยู่ระหว่างดำเนินการ ปรับอัตราค่าจ้าง แรกบรรจุ 3 (5.88) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจคาร์ด จำกัด อยู่ระหว่าง เสนอเรื่องต่อ คณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจ ไม่มีนโยบายปรับปรุง ค่าชดเชย 2 (3.92) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด และบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด เนื่องจากไม่ได้รับ ผลกระทบเกี่ยวกับ การปรับอัตรา แรกบรรจุดังกล่าว 4. แนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 4.1 หลักการในการพิจารณาผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (1) เพื่อยกระดับรายได้ให้สอดคล้องและเกิดความเป็นธรรมระหว่างส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (2) ลูกจ้างระดับปริญญาตรีอัตราแรกบรรจุไม่ต่ำกว่า 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และไม่ต่ำกว่า 18,150 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 (3) อัตราเงินเดือนค่าจ้างที่รวมเงินชดเชยแล้ว ต้องไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนค่าจ้างของผู้ที่เข้าทำงานใหม่ (คนเก่าต้องไม่น้อยกว่าคนใหม่) (4) ผู้ที่เคยได้รับอัตราเงินเดือนค่าจ้างสูงกว่า หลังจากชดเชยแล้วจะยังคงได้รับอัตราเงินเดือนค่าจ้างสูงกว่าผู้ที่เคยมีอัตราเงินเดือนค่าจ้างน้อยกว่า (คนเก่าไม่แซงกันเอง) (5) รัฐวิสาหกิจที่มีบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเองและรัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 53 ขั้น ใช้แนวทางการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุเดียวกัน 4.2) แนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (1) รัฐวิสาหกิจที่มีบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเองและรัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 53 ขั้น เห็นควรให้ใช้แนวทางการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเทียบเคียงกับส่วนราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/ว 9 ลงวันที่ 9 เมษายน 2567 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง (2) วิธีการปรับเงินเดือนเมื่อรวมจำนวนเงินที่ได้รับการชดเชยแล้วให้เข้ากับโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจในแต่ละกลุ่ม (2.1) รัฐวิสาหกิจที่มีบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง เมื่อคำนวณตามข้อ 4.2 (1) แล้ว หากเงินที่ได้ปรับเมื่อรวมเงินเดือนแล้วไม่ตกตามขั้นในบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่น ฐาน 5 ฐาน 10 ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับเงินเดือนในฐานที่สูงกว่าที่ใกล้ที่สุด (2.2) รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 53 ขั้น เมื่อคำนวณตามข้อ 4.2 (1) แล้ว หากเงินที่ได้ปรับเมื่อรวมเงินเดือนแล้วไม่ตกตามขั้นในบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 53 ขั้น ให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นได้รับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าที่ใกล้ที่สุด อย่างไรก็ตาม หากรัฐวิสาหกิจแห่งใดจะไม่ดำเนินการตามแนวทางการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจสามารถพิจารณาดำเนินการได้ตามแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรแต่ละแห่งได้ ทั้งนี้ กรอบวงเงินในการชดเชยในภาพรวมจะต้องไม่สูงกว่าแนวทางการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของทางราชการ (จำนวนเงินชดเชยรวมของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต้องไม่สูงกว่าจำนวนเงินชดเชยรวมของข้าราชการพลเรือนสามัญ) 4.3) แนวทางการปรับค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ให้มีผลบังคับใช้เหมือนกับภาคราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/ว 9 ลงวันที่ 9 เมษายน 2567 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง 5. ครรส. ได้มีการประชุมครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ที่ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการเองได้เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้วในเรื่องการปรับค่าจ้างชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 6. ประมาณการรายจ่ายภาพรวม จากการสำรวจข้อมูลจากรัฐวิสาหกิจจำนวน 59 แห่ง เกี่ยวกับการปรับค่าจ้างชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของรัฐวิสาหกิจ มีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 51 แห่ง ตอบแบบสำรวจ มีการปรับค่าจ้างชดเชย 2 ครั้ง โดยปรับครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และครั้งที่ 2 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ซึ่งรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้โดยใช้งบประมาณของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งและไม่มีผลกระทบต่อภาระงบประมาณโดยมีการประมาณการรายจ่ายในการชดเชยลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ สรุปได้ ดังนี้ การชดเชยลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จำนวนลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับการชดเชย (คน) จำนวนเงินที่รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายชดเชย (ล้านบาท/ปี) ร้อยละของเงินที่รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายเป็นค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิม (ก่อนการปรับครั้งที่ 1) ครั้งที่ 1 (วันที่ 1 พฤษภาคม 2567) 58,655 867.76 6.83 ครั้งที่ 2 (วันที่ 1 พฤษภาคม 2568) 61,164 1,159.11 11.80 7. รง. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลประกอบการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (31 มีนาคม 2558) เห็นชอบการปรับค่าจ้างชดเชยให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ เพื่อยกระดับรายได้ของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามวุฒิการศึกษาและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 (เรื่อง การปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ซึ่งเป็นเรื่องลักษณะเดียวกัน กับเรื่องที่กระทรวงแรงงานเสนอมาในครั้งนี้ โดยในครั้งนั้นเป็นการปรับค่าจ้างชดเชย ผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราแรกบรรจุเมื่อปี 2557 ที่ได้มีการปรับอัตราแรกบรรจุระดับปริญญาตรีเป็นไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท 13. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 เรื่อง มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 [เรื่อง มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)] โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของมาตรการภาษีรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ดังนี้ 1.1 ยกเลิกการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอัตราอากรขาเข้าในประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะ สำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) 1.2 แก้ไขประเภทรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า โดยเป็นสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามพิกัด 87.03 รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก รวมถึงสเตชันแวกอนและรถแข่ง และพิกัด 97.06 โบราณวัตถุที่มีอายุเกิน 100 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่กรมสรรพสามิตกำหนด 1.3 เพิ่มหลักการให้รถยนต์โบราณ (Cass Cars) ที่นำเข้าและมีการบูรณะภายในประเทศและส่งออกภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่ได้มีการนำเข้าสำเร็จมีสิทธิได้รับคืนภาษีเต็มจำนวนในกรณีส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมาย 2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 โดยกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ในอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 45 ของราคาขายปลีกแนะนำ 3. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่นำเข้ามาแบบสำเร็จรูปทั้งคัน (Completely Built Up: CBU) ตามที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด 4. รับทราบการดำเนินมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของเรื่อง 1. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 เรื่อง มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการดำเนินการตามผลการประชุมของคณะทำงานติดตามมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 เพื่อให้ครอบคลุมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปี ดังนี้ 1.1 เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 [เรื่อง มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)] โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของมาตรการภาษีรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ดังนี้ 1) ยกเลิกการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอัตราอากรขาเข้าในประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะ สำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) (คงเหลือรถยนต์ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต 06.01 รถยนต์นั่ง และ 06.02 รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน) 2) แก้ไขประเภทรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า โดยเป็นสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามพิกัด 87.03 รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก รวมถึงสเตชันแวกอนและรถแข่งและพิกัด 97.06 โบราณวัตถุที่มีอายุเกิน 100 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่กรมสรรพสามิตกำหนด [เดิมกำหนดรถยนต์ตามพิกัดอัตราศุลกากร 87.03 เฉพาะรถยนต์นั่งเท่านั้น (ไม่รวมถึงรถจักรยานยนต์และรถอื่น ๆ)] 3) เพิ่มหลักการให้รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่นำเข้าและมีการบูรณะภายในประเทศและส่งออกภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่ได้มีการนำเข้าสำเร็จมีสิทธิได้รับคืนภาษีสรรพสามิตเต็มจำนวนในกรณีส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินมาตรการดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดเต็มศักยภาพและส่งเสริมภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 1.2 อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 โดยกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ในอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 45 ของราคาขายปลีกแนะนำ 1.3 เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่นำเข้ามาแบบสำเร็จรูปทั้งคัน (Completely Built Up: BU) ตามที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด 1.4 รับทราบการดำเนินมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการ 1. กรมการค้าต่างประเทศ ? ยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยยกเว้นให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามพิกัดอัตราศุลกากร 87.03 และ 97.06 เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์ใช้แล้วสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ไม่สามารถนำเข้ามาในประเทศได้ โดยภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว จะมีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศฉบับดังกล่าว และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ (Regulatory Impact Analysis: RIA) และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. กรมควบคุมมลพิษ ? ดำเนินการออก (1) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยก๊าซทิ้งคาร์บอนมอนนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟและใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 และ (2) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 โดยแก้ไขนิยามคำว่า ?รถยนต์? ให้ไม่ครอบคลุมถึงรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อไม่ต้องตรวจวัดมลพิษจากรถยนต์ดังกล่าว 3. กรมศุลกากร ? ยกร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) เพื่อยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) สำหรับรถยนต์นั่งตามพิกัดอัตราศุลกากร 87.03 รถยนต์โบราณที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี แต่ไม่เกิน 100 ปี และพิกัดอัตราศุลกากร 97.06 รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปี (เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้) 4. กรมสรรพสามิต ? ยกร่าง (1) กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้) และ (2) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนด นิยาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) 5. กรมการขนส่งทางบก ? เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ต่อคณะรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาลงนาม) 6. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ? ยกร่างข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วยการห้าม มิให้รถยนต์โบราณ (Classic Cars) เดินรถบนถนนทุกสายทั่วราชอาณาจักร เพื่อกำหนดให้ขออนุญาตใช้รถยนต์โบราณ (Classic Cars) นอกเหนือจากวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ได้ครั้งละไม่เกิน 5 วันทำให้มีระยะเวลาอนุญาตให้ใช้รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ได้สูงสุด 9 วันสำหรับรองรับการจัดนิทรรศการรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft Power) และมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง 3. กระทรวงการคลังรายงานว่า การกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) และการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ เนื่องจากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จึงไม่มีปริมาณการนำเข้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามประเภทพิกัด 87.03 รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบ สำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก รวมถึงสเตชันแวกอนและรถแข่ง และประเภทพิกัด 97.06 โบราณวัตถุ และประมาณการว่าการดำเนินมาตรการภาษีดังกล่าว จะสามารถจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี และสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มเติมจากเม็ดเงินในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตหรือบูรณะรถยนต์โบราณ (Classic Cars) และภาคการท่องเที่ยวโดยการจัดนิทรรศการและงานแสดงรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นต้น 14. เรื่อง ขอความเห็นชอบอนุมัติใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติมและขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงิน และระยะเวลาการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ จำเป็น เพิ่มเติมอีก จำนวนเงิน 781.884 ล้านบาท 2. อนุมัติระยะเวลาการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 และที่ขอรับสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้ เพิ่มเติม ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ขอรับสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้ โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยรับงบประมาณ และจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย ผ่านธนาคารออมสินให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้ สาระสำคัญของเรื่อง 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และพ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพื่อเป็นค่าดำรงชีพเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้ประสบอุทกภัยเป็นกรณีพิเศษ กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 7 วันให้ความช่วยเหลืออัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท โดยอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ 57 จังหวัด จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,045.519 ล้านบาทและในพื้นที่ 17 จังหวัด จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 8,693.514 ล้านบาท แต่เนื่องจากระยะเวลาการช่วยเหลือฯ ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 19 มีนาคม 2568 ประกอบกับมีจำนวนครัวเรือนผู้ประสบภัยที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีมากกว่าจำนวนครัวเรือนผู้ประสบภัยที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินไว้แล้ว และขณะนี้ ยังคงมีผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดตรวจสอบยืนแล้ว รออยู่ในกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ทำให้การดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้นและไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป 2. ผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 รายละเอียดดังนี้ 2.1 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงดูฝน ปี 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 ตามข้อ 1 ได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยฯ เสร็จสิ้นแล้ว รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,716.143 ล้านบาท และมีงบประมาณคงเหลือจำนวนเงิน 329.376 ล้านบาท (3,045.519 - 2,716.143 ล้านบาท) ซึ่งนำไปใช้ในการจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ต่อไป (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2567 เวลา 16.30 น.) 2.2 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น.) มีผลการดำเนินการ ดังนี้ (1) ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว จำนวน 596,307 ครัวเรือน จำนวนเงิน 5,366.763 ล้านบาท (2) อยู่ระหว่างโอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 402,437 ครัวเรือน จำนวนเงิน 3,621.933 ล้านบาท (3) อยู่ระหว่างปรับปรุงสถานะบุคคล จำนวน 3,532 ครัวเรือน จำนวนเงิน 31.788 ล้านบาท 3. การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 กำหนดให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปจากสำนักงบประมาณ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 โดยมีกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาการช่วยเหลือฯ ดังกล่าวในวันที่ 19 มีนาคม 2568 แต่เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือมีขั้นตอนการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลผู้ประสบภัยที่ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ที่กำหนดไว้ให้เกิดความถูกต้อง ชัดเจน ครอบคลุม โปร่งใสเป็นธรรมกับประชาชนที่ประสบภัย ทำให้การจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ประกอบกับมีจำนวนครัวเรือนผู้ประสบภัยที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีมากกว่าจำนวนครัวเรือนผู้ประสบภัยภัยที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้ ยังคงมีผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดตรวจสอบยืนยันแล้วรออยู่ในกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือฯ คงเหลืออยู่อีก 86,876 ครัวเรือน และคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ประมาณ 781.884 ล้านบาท ทำให้การดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้นและไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด 4. ขอความเห็นชอบอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติม และขออนุมัติงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพิ่มเติม จากเดิม อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย ในพื้นที่ 17 จังหวัด จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 8,693.514 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 อัตราครัวเรือนละ 9,000 บาท ทั้งนี้ ให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพิ่มเติม (วันที่ 19 มีนาคม 2568) โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้ ขอเพิ่มเติม อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567เพิ่มเติมอีก จำนวน 781.884 ล้านบาท และขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 และที่ขอรับสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้ เพิ่มเติมอีก 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ขอรับสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้ สำหรับกรณีต่อไปนี้ (1) เกิดสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ในพื้นที่ 4จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท บุรีรัมย์ สมุทรสาคร และจังหวัดสิงห์บุรี (2) เกิดสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 - 31 ธันวาคม 2567 ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ ตรัง พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ครัวเรือนที่จะได้รับความช่วยเหลือในกรณีนี้จะต้องไม่เป็นครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในช่วงฤดูฝน ปี 2567 มาแล้ว โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้ ประโยชน์และผลกระทบ ผู้ประสบภัยตามข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ/พื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท บุรีรัมย์ สิงห์บุรี และจังหวัดสมุทรสาคร และตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ ตรัง พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 สำหรับเป็นค่าดำรงชีพเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย เป็นกรณีพิเศษ และเพื่อให้การดำรงชีพของประชาชนเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ต่างประเทศ 15. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษ แม่โขง - ล้านข้าง ประจำปี พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation Special Fund: MLCSF) ประจำปี พ.ศ. 2567 (บันทึกความเข้าใจฯ) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้างช้าง ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษ แม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2567 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดสำหรับการดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้กองทุนพิเศษ แม่โขง - ล้านข้าง (Mekong - Lancang Cooperation Special Fund: MLCSF) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนสำหรับการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อรองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (A Sustainable supply chain for managing agricultural waste in the Mekong region to Manipulate climate change adaption) เป็นจำนวนเงิน 346,900 ดอลลาร์สหรัฐ (ไม่เกิน 2,497,500 หยวน หรือประมาณ 11.81 ล้านบาท) ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดแนวทางสำหรับการส่งเสริมการลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร การจัดการขยะทางการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรดินเพื่อความยั่งยืน เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศสู่บรรยากาศ จากการจัดการดิน ปุ๋ย และการลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรแบบเปิดในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เคยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน MLCSF มาแล้ว จำนวน 3 ครั้ง ในปี 2561 ปี 2563 และปี 2564 รวมจำนวน 12 โครงการ รวมวงเงินทั้งสิ้น 2,832,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 23.66 ล้านหยวน หรือประมาณ 90.48 ล้านบาท) 16. เรื่อง การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการบินพลเรือน (เดลี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปฏิญญาระดับรัฐมนตรีเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการบินพลเรือน (เดลี) (ปฏิญญาเดลีฯ) และเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมมีหนังสือแจ้งการรับรองปฏิญญาเดลีฯ ถึงผู้อำนวยการสำนักงานสาขาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การการบินพลเรือน ระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อทราบต่อไปตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ (จะมีการรับรองปฏิญญาเดลีฯ ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว) สาระสำคัญของเรื่อง ปฏิญญาระดับรัฐมนตรีเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการบินพลเรือน (เดลี) (ปฏิญญาเดลีฯ) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิก เพื่อมุ่งมั่นส่งเสริมการดำเนินการตามแผนงานและมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติด้านต่าง ๆ ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เช่น การดำเนินการตามปฏิญญา ว่าด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการบินพลเรือน (ปฏิญญาปักกิ่งฯ) การดำเนินการตามแผนนิรภัยในการบินพลเรือนของโลก แผนการเดินอากาศโลก และแผนการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของโลก เป็นต้น โดยจะส่งผลดีต่อประเทศไทยในการสร้างความเชื่อมั่นในระบบการให้บริการการเดินอากาศ และอุตสาหกรรมการบิน (เช่น จากการวางแผนฉุกเฉินสำหรับการจัดการจราจรทางอากาศกับประเทศอื่น ๆ การปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยทางการบิน เป็นต้น) ทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจากการเดินทางทางอากาศยานของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในฐานะที่เป็นที่ตั้งของ ICAO สาขาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 17. เรื่อง การรับรองปฏิญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ (COP28 Declaration on Climate and Health) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการรับรองปฏิญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ (COP28 Declaration on Climate and Health) (ปฏิญญาฯ) และมอบหมายกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตามขั้นตอนการรับรองปฏิญญาฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1.ปฏิญญาฯ พัฒนาขึ้นจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (การประชุม COP28) โดย UAE Ministry of Health and Prevention องค์การอนามัยโลก และ Champion countries จำนวน 12 ประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์การอนามัยโลกร่วมกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประธานการประชุม COP28 (UAE Presidency of the COP28) ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับร่างปฏิญญาฯ ผ่านการประชุมประเทศสมาชิก จำนวน 105 ประเทศ (Regional Consultation) เรื่อง Health and climate at the upcoming COP28 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 พร้อมทั้งแจ้งเวียนให้ประเทศสมาชิก พิจารณาร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว 2. ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 - 12 ธันวาคม 2566 โดยมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประธาน ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งที่ประชุมขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและให้มีการรับรองปฏิญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ (COP28 Declaration on Climate and Health) (ปฏิญญาฯ) โดยปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนาในการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพให้มีภูมิคุ้มกันและมีความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและกลุ่มเปราะบางให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยประเทศต่าง ๆ จะร่วมกันดำเนินการตามวัตถุประสงค์ เช่น สนับสนุนการสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี ควบคู่กับการพัฒนางานวิจัยแบบบูรณาการและการทำงานร่วมกันข้ามภาคส่วน ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพโดยเฉพาะในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง เป็นต้น โดยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 ระหว่าง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 - 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประธานการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 ขอให้ประเทศต่าง ๆ มีหนังสือรับรองปฏิญญาฯ อย่างเป็นทางการภายหลังการประชุม ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 พิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการ ต่อการรับรองปฏิญญาฯ ด้วยแล้ว 18. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 17 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 12 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 12 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ 1. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา [ได้แก่ การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (อนุสัญญา บาเซลฯ) สมัยที่ 17 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญา รอตเตอร์ดัมฯ) สมัยที่ 12 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) สมัยที่ 12] 2. เห็นชอบต่อกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา ทั้งนี้ หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทยนี้ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (legally binding) ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณาโดยนำมติข้อตัดสินใจและสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีในภายหลังการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญาต่อไป 3. เห็นชอบการแก้ไขข้อบท 16 และการแก้ไขภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอดเตอร์ดัมฯ และ การแก้ไขภาคผนวก เอ ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ ตามท่าทีของประเทศไทย และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองมติข้อตัดสินใจดังกล่าวในการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา สาะสำคัญของเรื่อง 1. เดิมประเทศไทยได้ให้สัตยาบันและภาคยานุวัตรสารเพื่อเข้าร่วมใน 3 อนุสัญญา ดังนี้ อนุสัญญา สาระสำคัญของอนุสัญญา (1) อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายและการกำจัด (อนุสัญญาบาเซลฯ) (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2541) กำหนดให้มีการขอความยินยอมล่วงหน้า ก่อนการนำเข้า - ส่งออก และนำผ่านของเสียอันตรายไปยังประเทศอื่น เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย รวมทั้งกำหนดให้ของเสียอันตรายได้รับการจัดการและกำจัดด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (2) อนุสัญญารอดเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตราย และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ) (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547) กำหนดให้มีการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสารเคมี (ฉลาก ข้อมูลสุขภาพและความปลอดภัย รวมทั้งการรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสารเคมี) ให้มีการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าก่อนการนำเข้า - ส่งออก และให้ภาคีแจ้งท่าทีเกี่ยวกับการนำเข้าสารเคมีที่ถูกควบคุมภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ ว่าจะอนุญาตให้นำเข้าหรือไม่ โดยภาคีจะต้องไม่ส่งออกสารเคมีไปยังภาคีที่ไม่ได้แจ้งท่าทีหรือมีท่าทีไม่อนุญาต (3) อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548) กำหนดให้ภาคีต้องจำกัดหรือเลิกการผลิตและการใช้ และมีการบริหารจัดการคลังสารเคมีและของเสียด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการควบคุมการนำเข้า - ส่งออก ทั้งนี้ อาจให้มีข้อยกเว้นพิเศษ (Specific Exemptions) เพื่อเป็นระยะเวลาปรับตัว หรืออนุญาตให้ เฉพาะในวัตถุประสงค์ที่ยอมรับได้ 2. โดยที่อนุสัญญาทั้งสามมีขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่คาบเกี่ยวกันจึงได้มีการบูรณาการความ ร่วมมือ โดยมีการจัดการประชุมร่วมกัน ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ซึ่งในครั้งนี้ประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 17 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 12 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 12 ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 9 พฤษภาคม 2568 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ภายใต้หัวข้อหลักของการประชุม คือ ?Make visible the invisible: sound management of chemicals and wastes? ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการของทั้ง 3 อนุญญา ได้มีมติเห็นชอบกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย และสนับสนุนผู้แทนไทยในการเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการภายใต้ 3 อนุสัญญาแล้ว ทั้งนี้ ทส. แจ้งว่า การรับรองการแก้ไขอนุสัญญาดังกล่าวไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาอื่นตามมาตรา 178 วรรคสอง ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางตามมาตรา 178 วรรคสาม จึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา 19. เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมข้ามแดน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมข้ามแดน 2. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Instruments of Full Power) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทน เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง สาระสำคัญของเรื่อง 1. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 เห็นชอบแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (2567 - 2573) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อร่วมดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนต่อไป 2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และเห็นชอบร่วมกันในการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมข้ามแดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและลดผลกระทบจากมลพิษข้ามแดน โดยไม่จำกัดเพียงหมอกควันข้ามแดนแต่รวมถึงมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะมูลฝอย ขยะอันตราย และรูปแบบอื่น ๆ ของมลพิษ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา โดยบันทึกความเข้าใจฯ ประกอบด้วยขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้ 1) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูล และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันมลพิษข้ามแดน 2) การเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องในการป้องกันและจัดการมลพิษ 3) การดำเนินโครงการวิจัยด้านการจัดการมลพิษข้ามแดนร่วมกัน 4) การตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน 5) การร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดนอย่างเหมาะสม และ 6) การดำเนินการและการติดตามผล ทบทวนความก้าวหน้าเป็นประจำ โดยบันทึกความเข้าใจฯ นี้มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทุกฝ่ายลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ ประโยชน์และผลกระทบ บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อมราชอาณาจักรกัมพูชากับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมข้ามแดนจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ได้แก่ มลพิษทางอากาศ หมอกควันมลพิษทางน้ำ ขยะมูลฝอย ขยะอันตราย และมลพิษอื่น ให้ได้รับการแก้ไข่ได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น 20. เรื่อง การจัดทำร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี (ร่างความตกลงฯ) และอนุมัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในการลงนามในร่างความตกลงฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่ผู้ที่รับมอบอำนาจดังกล่าวด้วย ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี (ร่างความตกลงฯ) ซึ่งเดิมเมื่อปี 2552 จังหวัดไพลิน ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้มีหนังสือแจ้งจังหวัดจันทบุรี เสนอขอสร้างสะพานข้ามพรมแดน ณ จุดผ่านแดนถาวรปรม - บ้านผักกาด เพื่อทดแทนสะพานเก่า ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมและดินสึกกร่อนจากน้ำฝน (ปัจจุบันประเทศไทยมีจุดผ่านแดนกับราชอาณาจักรกัมพูชา รวม 18 จุด) ต่อมาคณะอนุกรรมการพิจารณาการเปิดจุดผ่านแดน (เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2556 มีมติเห็นชอบให้มีการก่อสร้างสะพานใหม่เพื่อทดแทนสะพานเดิมดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานกรรมการ) จึงได้จัดทำร่างความตกลงฯ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความร่วมมือในการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ โดยร่างความตกลงดังกล่าวได้รับความเห็นขอบจากฝ่ายกัมพูชาด้วยแล้ว ซึ่งมีรายละเอียด เช่น หัวข้อ รายละเอียด (1) ที่ตั้งและขอบเขตของโครงการ - ตั้งอยู่ในพื้นที่ของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา โดยฝั่งไทย ตั้งอยู่ที่บ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และฝั่งกัมพูชา ตั้งอยู่ที่บ้านปรม อำเภอศาลากราว จังหวัดไพลิน - ขอบเขตของโครงการ จะดำเนินการก่อสร้าง (1) สะพานหลักข้ามแม่น้ำ 40 เมตร แบ่งเป็น ฝั่งไทย 20 เมตรฝั่งกัมพูชา 20 เมตร และ (2) เชิงลาดสะพาน 20 เมตร แบ่งเป็น ฝั่งไทย 10 เมตร ฝั่งกัมพูชา 10 เมตร (2) ภาระหน้าที่ - ฝ่ายไทย เช่น รับผิดชอบค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการ ยกเว้นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ภาษี และค่าธรรมเนียมทุกชนิดในราชอาณาจักรกัมพูชา ควบคุมการก่อสร้าง รวมถึงออกหนังสือรับรองการทำงานและการตรวจลงตราหนังสือเดินทางเข้า - ออกประเทศไทย แก่บุคลากรและผู้ติดตามฝ่ายกัมพูชา - ฝ่ายกัมพูชา เช่น จัดเตรียมที่ดินในเขตการก่อสร้างและรื้อย้ายสาธารณูปโภคพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านสาธารณูปโภค อำนวยความสะดวกในเรื่องการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคลากรและผู้ติดตามของฝ่ายไทย รวมทั้งยกเว้น ภาษี อากร และค่าธรรมเนียมให้กับฝ่ายไทย อาทิ ค่าธรรมเนียมในการเดินทางเข้า - ออกประเทศ ภาษีอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือในการก่อสร้าง รวมถึงยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น เครื่องใช้ส่วนตัวเครื่องใช้ในครัวเรือน และสิ่งของที่ใช้บริโภคของบุคลากรและผู้ติดตามฝ่ายไทย ที่นำเข้าไปในราชอาณาจักรกัมพูชา (3) การจ้างแรงงาน จะว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ วิศวกร และแรงงานที่มีทักษะของบุคลากรฝ่ายไทยเป็นผู้ควบคุมงาน และในส่วนของการก่อสร้างจะว่าจ้างแรงงานกัมพูชา แต่หากหาแรงงานกัมพูชาไม่ได้จะว่าจ้างแรงงานไทยแทน (4) การบริหารและบำรุงรักษาสะพาน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการบริหารและบำรุงรักษาสะพาน เพื่อกำหนดรายละเอียดการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาสะพาน (5) ระบบการจราจร สะพานมี 4 ช่องจราจร พร้อมไหล่ทางและทางเดินเท้า โดยจุดเปลี่ยนการจราจรตั้งอยู่ที่บริเวณทางเข้าสะพานของแต่ละประเทศ (6) ระยะเวลาบังคับใช้ มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ได้ลงนามเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าจะถูกยกเลิกโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังอีกฝ่าย ผ่านช่องทางการทูตล่วงหน้า 90 วัน 2. กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาแล้ว เห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง และมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น สมช. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการการสัญจรข้ามแดน โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยความมั่นคงที่แฝงมากับการสัญจรข้ามแดน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนในอนาคตอย่างรอบคอบ และ สศช. เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานควบคุมเกี่ยวกับพืช สัตว์ อาหาร และยา เตรียมความพร้อมวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการบริเวณด่านศุลกากร เพื่อรองรับเศรษฐกิจการค้าการขนส่ง และการเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต 21. เรื่อง แผนปฏิบัติการร่วมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย ? กัมพูชา พ.ศ. 2568 ? 2569 (Joint Plan of Action for Thailand ? Cambodia Strategic Partnership 2025 ? 2026) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการร่วมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย ? กัมพูชา พ.ศ. 2568 ? 2569 (Joint Plan of Action for Thailand ? Cambodia Strategic Partnership 2025 ? 2026) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก สาระสำคัญของเรื่อง 1.ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนด นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) และนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาได้ประกาศยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น 2. ต่อมา ในระหว่างการเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้จัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Plan of Action) เพื่อกำหนดสาขาความร่วมมือที่สำคัญและกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการร่วมกันภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ดังกล่าว 3. ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 3.1 แผนปฏิบัติการร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้าน ในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและก่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย 3.2 แผนปฏิบัติการร่วมฯ ครอบคลุมความร่วมมือระหว่างไทยกัมพูชาใน 7 สาขา สำคัญได้แก่ (1) การส่งเสริมการพัฒนาชายแดน (2) การรับมือประเด็นข้ามแดนที่มีความท้าทาย (3) การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (4) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชน (5) การกระตุ้นการค้าทวิภาคี (6) การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ (7) การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ 3.3 แผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นเอกสารที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศจะรับรองร่วมกันโดยไม่มีการลมนาม และมิได้มีรูปแบบ ถ้อยคำ หรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประโยชน์และผลกระทบ การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทยกับกัมพูชาในระหว่างปี 2568 ? 2569 ในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและก่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย 22. เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติให้ กค. กู้เงินในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB)* สำหรับโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหลวงหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (โครงการฯ) กรอบวงเงิน จำนวน 68.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,440.19 ล้านบาท) 2. เห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้โครงการฯ และเห็นชอบในการใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับเงินกู้สำหรับการดำเนินงานตามปกติของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank Ordinary Operations Loan Regulations) (ข้อบังคับเงินกู้ฯ ADB) ลงวันที่ 1 มกราคม 2565 ของ ADB 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในสัญญาเงินกู้โครงการฯ 4. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) จัดเตรียมทำคำรับรองทางกฎหมาย (Legal Opinion) สำหรับสัญญาเงินกู้โครงการฯ ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ดังกล่าวแล้ว 5. มอบหมายให้กรมทางหลวงปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ถูกระบุไว้ในคู่มือปฏิบัติงาน (Project Administration Manual: PAM) (คู่มือปฏิบัติงานของ ADB) สัญญาเงินกู้โครงการฯ รวมทั้งกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องของ ADB และเอกสารแนบท้ายสัญญาที่เกี่ยวข้อง ตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ขอให้กรมทางหลวงบริหารสัญญาและกำกับดูแลผู้รับจ้างให้ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการเบิกจ่ายเงินกู้ตามระยะเวลาที่กำหนด สาระสำคัญของเรื่อง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 อนุมัติโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (โครงการฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างทางยกระดับแนวใหม่ขนาด 4 ช่องทางจราจร เชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงพัทยา - มาบตาพุด สู่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและปรับปรุงขยายช่องทางจราจรของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากเดิม 4 ช่องทางจราจรเป็น 8 ช่องทางจราจร โดยมีกรอบวงเงิน จำนวน 4,508 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศสำหรับค่าดำเนินการก่อสร้าง ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด และให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ขอรับการจัดสรรงบประมาณสมทบ ซึ่งรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อดำเนินโครงการฯ ตามที่ กค. จะทำความตกลงกับแหล่งเงินกู้ สำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 108 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายจากจบประมาณรายจ่ายประจำปี จากนั้น กค. ได้ขอรับการสนับสนุนเงินกู้อย่างเป็นทางการ สำหรับดำเนินโครงการฯ จากธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank :ADB) ต่อมากรมทางหลวงในฐานะผู้ดำเนินโครงการฯ ได้เสนอขอปรับเปลี่ยนแบบก่อสร้างใหม่ เป็นผลให้วงเงินโครงการฯ ลดลงเหลือ จำนวน 3,092.90 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินกู้จาก ADB จำนวน 2,440.19 ล้านบาท หรือจำนวน 68.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นประมาณร้อยละ 78.90 ของวงเงินโครงการ (อีกร้อยละ 21.10 ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กรมทางหลวงจำนวน 652.71 ล้านบาท) โดย ADB ตกลงที่จะให้กรมทางหลวงเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไปพลางก่อนได้ และจะลงนามในสัญญาจ้างและเบิกจ่ายเงินกู้ได้ทันทีเมื่อสัญญาเงินกู้มีผลบังคับใช้ จากนั้น กค. ได้ส่งร่างสัญญาเงินกู้โครงการฯ ที่ได้เจรจากับ ADB จนได้ข้อยุติแล้วให้สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ตรวจพิจารณา ซึ่ง อส. ได้ให้ข้อสังเกตบางประการ ซึ่ง กค. (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) ได้ชี้แจงและรายงานผลการปฏิบัติตามข้อสังเกตของ อส. แล้ว กค. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้โครงการฯ ระหว่างรัฐบาลไทยอนุมัติให้ กค. กู้เงินจาก ADB และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในสัญญาเงินกู้โครงการฯ รวมทั้งการใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ซึ่งถูกกำหนดอยู่ในข้อบังคับเงินกู้สำหรับการดำเนินงานตามปกติของ ADB (ข้อบังคับเงินกู้ฯ ADB) ลงวันที่ 1 มกราคม 2565 ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 30 มิถุนายน 2572 * ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADE) ก่อตั้งเมื่อ 19 ธันวาคม 2509 เป็นสถาบันการเงิน ระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีวัตถุประสงค์ เพื่อการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ADB มีประเทศสมาชิกจำนวน 68 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย 23. เรื่อง เงินกู้จากธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติให้ กค. กู้เงินในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจากธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย* (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) วงเงิน 423.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13,891.75 ล้านบาท) 2. เห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้และเอกสารที่เกี่ยวข้องของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2) (โครงการฯ) และเห็นชอบในการระบุให้ใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารเงื่อนไขทั่วไปสำหรับเงินกู้รัฐบาล (General Conditions for Sovereign - Backed Loans) ฉบับวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ของ AIIB 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญาเงินกู้ และจดหมายการยืนยันข้อผูกพันและการให้ข้อมูลทางการเงินของโครงการฯ 4. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) จัดทำคำรับรองทางกฎหมาย (Legal Opinion) สำหรับสัญญาเงินกู้ของโครงการฯ ในโอกาสแรก ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ดังกล่าวแล้ว 5. มอบหมายให้กองทัพเรือ (ทร.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ถูกระบุไว้ในคู่มือการปฏิบัติงาน สัญญาเงินกู้ กฎข้อบังคับต่าง ๆ ของ AIIB และเอกสารแนบท้ายสัญญาที่เกี่ยวข้องของโครงการฯ ตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) รวมทั้งข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ขอให้ ทร. คำนึงถึงผลกระทบการระงับวงเงินกู้หรือสิทธิในการเรียกให้ชำระคืนเงินกู้ได้ทันทีตามเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ของ AIIB หากจะมีการแก้ไขสัญญาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ร่วมกันระหว่าง ทร. และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (Joint Use Agreement : JUA) ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือการกระทำผิดเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้ สาระสำคัญของเรื่อง เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และ 1 พฤศจิกายน 2565 อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ) ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และกองทัพเรือ (ทร.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ กำกับและติดตามแผนการบูรณาการในภาพรวมและการประสานงานกับหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ สอดคล้องตามเงื่อนไขของ PPP รวมถึงอนุมัติกรอบวงเงิน จำนวน 17,768 ล้านบาท ให้กับ ทร. เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2) (โครงการฯ) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาเงินกู้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรอบวงเงิน 16,210 ล้านบาท ให้กับ ทร. และให้ สงป. จัดสรรงบประมาณสมทบในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่ กค. ตกลงกับแหล่งเงินกู้ ต่อมา กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เจรจากับคณะผู้แทนธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้สำหรับโครงการฯ จำนวน 13,891.75 ล้านบาท หรือ 423.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนได้ข้อยุติร่วมกัน ซึ่ง ทร. จะใช้งบประมาณสมทบจากภาครัฐอีก 2,480.53 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนเงินกู้ต่องบประมาณ ประมาณร้อยละ 85: 15 ของกรอบวงเงินสำหรับการก่อสร้างโครงการฯ จากนั้น กค. ได้ส่งร่างสัญญาเงินกู้โครงการฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ตรวจพิจารณา ซึ่ง อส. ได้ให้ข้อสังเกตบางประการเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการของ สบน. แล้ว โดย สบน. ได้ประสานกับหน่วยงานดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง AIIB เพื่อทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของสัญญาเงินกู้และเอกสาร ที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตในประเด็นข้อกฎหมายของ อส. เรียบร้อยแล้ว กค. จึงขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้โครงการฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีกรอบวงเงินกู้จำนวน 423.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขอให้ใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทตามที่กำหนดในร่างสัญญาเงินกู้โครงการฯ รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในสัญญาเงินกู้โครงการฯ * เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคีที่มีภารกิจในการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตในเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนเป็นหลัก ซึ่ง AIIB เริ่มดำเนินการในปี 2559 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และได้ขยายการดำเนินงานจนมีประเทศสมาชิกทั้งในและนอกภูมิภาค จำนวน 110 ราย ทั่วโลก 24. เรื่อง ร่างบันทึกความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการพัฒนาดิจิทัล นวัตกรรม และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดส.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการพัฒนาดิจิทัล นวัตกรรม และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในขอบเขตของการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 2. ขอบเขตความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ เช่น (1) แบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละฝ่ายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระดับชาติ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดเพื่อพัฒนาและนำร่องทางแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม (innovative solution) มาใช้ภายในขอบเขตการประยุกต์ใช้ที่สำคัญ (key application domains) (2) ส่งเสริมความร่วมมือในด้านการบริหารจัดการภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Governance) โครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ การบริการสาธารณสุขในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Health) การให้บริการสาธารณะในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public Services Delivery) รวมถึงการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) และอื่น ๆ โดยแบ่งปันแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ (best practices) การมีส่วนร่วมในการประชุม การศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ (3) ประสานงานและแบ่งปันแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises (SMEs)) และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม บริษัทสตาร์ทอัพ (start-ups) และผู้ประกอบการ (entrepreneurship) (4) แบ่งปันแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศสำหรับโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ที่ได้ดำเนินการและได้ร่วมมือกันยกระดับทักษะใหม่ (re-skill) เสริมทักษะ (up-skill) และสร้างทักษะใหม่ (new-skill) ให้กับเยาวชนที่มีพรสวรรค์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging technologies) และเทคโนโลยีใหม่ (new technologies) 3. บันทึกความร่วมมือฯ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี และอาจขยายเวลาออกไปได้โดยความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันของผู้เข้าร่วม ทั้งนี้ การหมดอายุหรือการยกเลิกบันทึกความร่วมมือนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ภายใต้บันทึกความร่วมมือนี้ เว้นแต่ผู้เข้าร่วมจะตกลงเป็นอย่างอื่น ประโยชน์และผลกระทบ 1. การจัดทำร่างบันทึกความร่วมมือฯ ดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐคาซัคสถาน ด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านการดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกันตลอดจนการจัดการฝึกอบรมและสัมมนา และการร่วมมือกันทั้งในเชิงนโยบายและเชิงเทคนิคเพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างครอบคลุม ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของทั้งสองประเทศอย่างมั่นคงและปลอดภัย 2. ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561 - 2580 และแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งผลักดันการดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่งตั้ง 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้ง นางธาราพร สิงหพันธุ์ มหิทธาฟองกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองพัฒนาธุรกิจและศักยภาพที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้ง นางสาวสลักจิต พงษ์ศิริจันทร์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป 27. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการแก้ไขปัญหาธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการแก้ไขปัญหาธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป มีรายละเอียดดังนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็น ประธานกรรมการ กรรมการ ประกอบด้วย อัยการสูงสุด ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้อำนวยการฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์และติดตามสอดส่องการประกอบธุรกิจ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หน้าที่และอำนาจ 1. พิจารณา ติดตาม ผลการดำเนินงานของส่วนราชการ กรณีมีเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน หรือพิจารณาดำเนินการกรณีที่มีความปรากฏเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำความผิดที่อาจเข้าข่ายลักษณะแชร์ลูกโซ่ตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ประสานงานและบูรณาการในการตรวจสอบพฤติการณ์การกระทำผิดที่อาจเข้าข่ายลักษณะแชร์ลูกโซ่ และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาแชร์ลูกโซ่ของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เชิญผู้แทนส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐและบุคคล เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล รวมทั้ง จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหาแชร์ลูกโซ่ 4. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการตรากฎหมาย แก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่และให้ความเห็นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ 5. แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของแชร์ลูกโซ่แก่ประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นผู้เสียหาย 6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม 7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย 28. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก รวม 3 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พันจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้ 1. นายวิจารย์ สิมาฉายา ประธานกรรมการ 2. นายกวิน ทังสุพานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านพลังงาน 3. นายสมชาย รังษีธนานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอแต่งตั้ง นางแพตริเซีย มงคลวนิช(ผู้แทนกระทรวงการคลัง) เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยแทน นายจำเริญ โพธิยอด (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) กรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน 30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 8 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม 2. นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร 3. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ 4. นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง 5. รองศาสตราจารย์ประวิต เอราวรรณ์ 6. ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ 7. รองศาสตราจารย์ปัทมาวดี โพชนุกูล 8. รองศาสตราจารย์สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 31. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงการคลัง เสนอมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เสนอแต่งตั้ง นายณัฐวุฒิ ภัทรประยูร ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง จัดหางานจังหวัด (ผู้อำนวยการสูง) สำนักงานจัดหางานจังหวัดร้อยเอ็ด กรมการจัดหางาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป 33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบกรณี นางกัมเลช มันจันดา พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในคณะกรรมการสภาการศึกษา 2. เห็นชอบแต่งตั้ง นายธงชัย ประดับชนานุรัตน์ เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการ ที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอแต่งตั้ง พลอากาศตรี วุฒิ น้อยเชี่ยวกาญจน์ เป็นกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย แทน พลอากาศตรี นาถวุฒิ หยูทอง กรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศ) ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แทนชุดเดิม ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งสามปี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 จำนวน 6 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ วีระพงษ์ แพสุวรรณ 2. นางชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต 3. นายอดิสร เตือนตรานนท์ 4. นางสาวพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 5. นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ 6. ศาสตราจารย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 36. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ แต่งตั้ง นายสมชัย สัจจพงษ์ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งเดิม ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ แต่งตั้ง นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 เป็นต้นไป