ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.24 แข็งค่าสุดในภูมิภาค คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.15-33.40

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 16, 2025 18:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.24 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่ 33.46 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.21-33.46 บาท/ดอลลาร์ และแข็งค่าสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค สาเหตุหลักมาจากราคาทองคำโลกยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นตัวหนุนให้เงินบาทแข็งค่า ประกอบกับ ตลาดยังไม่มีความมั่นใจเศรษฐกิจ สหรัฐ ทำให้มีแรงเทขายดอลลาร์แล้วเข้าซื้อสินทรัพย์อื่นแทน เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทย วันนี้ต่างชาติเข้าซื้อถึง 13,000 ล้านบาท

"วันนี้บาทแข็งค่าสุดในภูมิภาค ระหว่างวันทำ low สุดที่ 33.21 บาท เป็นการแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 6 เดือน นับตั้งแต่ ต. ค.67" นักบริหารเงิน ระบุ

อย่างไรก็ดี คืนนี้ ต้องติดตามถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณทิศทางเศรษฐกิจและแนวโน้ม ดอกเบี้ยในช่วงต่อจากนี้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.15-33.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.82 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 142.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1360 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1326 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,138.90 จุด เพิ่มขึ้น 10.24 จุด (+0.91%) มูลค่าการซื้อขาย 41,200.11 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 703.07 ลบ.(SET+MAI)
  • รมว.คลัง ยืนยัน รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะนำทุนสำรองทางการระหว่างประเทศออกมาใช้ในพยุงเศรษฐกิจประเทศในขณะนี้
เพราะโดยหลักแล้ว ต้องใช้เป็นตัวหนุนหลังการนำเข้า-ส่งออก โดยเรื่องนี้รัฐบาลมีหน้าที่สร้างสมดุลทางการค้า ส่วนการบริหารค่าเงิน
เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ และจะการแทรกแซงค่าเงินอย่างไรนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเปิดเผยกัน
  • รมว.คลัง เผยการประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ แบงก์ชาติวันนี้ เป็นการร่วมพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นกับไทยจากการปรับขึ้นภาษีนำ
เข้าสินค้าของสหรัฐฯ ทั้งในด้านของตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดพันธบัตร การส่งออก-นำเข้า ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย โดยยอมรับว่ายังไม่มี
ข้อยุติว่าจะดำเนินมาตรการใด เพราะความไม่แน่นอนจากนโยบายสหรัฐยังมีสูง แต่ทั้งสองฝ่ายจะทำงานร่วมกัน และมอนิเตอร์สถานการณ์
อย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดมาตรการที่ชัดเจนร่วมกันต่อไป
  • สโคป (Scope) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของยุโรป เตือนว่า สหรัฐฯ อาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ หากสงคราม
การค้าที่ยืดเยื้อบั่นทอนความเชื่อมั่นระยะยาวในค่าเงินดอลลาร์ หรือหากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ใช้มาตรการที่รุนแรงยิ่ง
ขึ้น เช่น การควบคุมเงินทุน
  • คาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณว่า อาจต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หากมาตรการ
ภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า การที่สหรัฐอเมริกา เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตราที่สูงขึ้น จะ
สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจและการค้าของจีนในระยะสั้น แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงแนวโน้มเชิงบวกในระยะยาว โดยจีนตั้งเป้าหมายการเติบ
โตของ GDP เอาไว้ที่ราว 5% ในปี 2568
  • วาณิชธนกิจระดับโลกหลายแห่ง เช่น ซิตี้, โกลด์ แมน แซคส์, ยูบีเอส, มอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP
ของจีนในปีนี้ เนื่องจากคาดว่า มาตรการเก็บภาษีนำเข้าอย่างรุนแรงของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ
2 ของโลก โดยตัวเลขคาดการณ์ GDP ใหม่ที่ปรับลดลงนั้น ล้วนแต่อยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายของจีน ซึ่งกำหนดไว้ที่ 5% ในปีนี้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน

เม.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาต

ก่อสร้างเดือนมี.ค. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ