
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เมื่อเวลา 07.00 น.ที่ผ่านมา ตรวจวัดได้ 36.7-69.2 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 51.2 มคก./ลบ.ม. ซึ่งเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 69 พื้นที่
ขณะที่การระบายอากาศส่วนใหญ่ในช่วงหลังจากนี้ไปจนถึงวันที่ 2 เม.ย.68 อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้นต่อเนื่องชั้นบรรยากาศมีลักษณะอากาศเปิดสลับปิด คาดว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลงแล้วทรงตัว
สำหรับ 10 พื้นที่ ที่มีค่า PM2.5 สูงสุด ได้แก่
1 เขตบึงกุ่ม 71.8 มคก./ลบ.ม.
2 เขตลาดกระบัง 61.7 มคก./ลบ.ม.
3 เขตหนองจอก 61.3 มคก./ลบ.ม.
4 เขตวังทองหลาง 60.8 มคก./ลบ.ม.
5 เขตสายไหม 60.8 มคก./ลบ.ม.
6 เขตสาทร 60.7 มคก./ลบ.ม.
7 เขตมีนบุรี 60.3 มคก./ลบ.ม.
8 เขตคลองสามวา 59.1 มคก./ลบ.ม.
9 เขตบางนา 59 มคก./ลบ.ม.
10 เขตบางเขน 59 มคก./ลบ.ม.
- กรุงเทพเหนือ 48.3 - 60.8 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพตะวันออก 46.6 - 71.8 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพกลาง 47 - 60.8 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพใต้ 44.5 - 60.7 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงธนเหนือ 41.4 - 57.5 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงธนใต้ 43.8 - 55.8 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพสำหรับคุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์