สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (31 มีนาคม - 4 เมษายน 2568) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 548,967 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 109,793 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 54% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 45% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 246,671 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออก โดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 238,497 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการ ซื้อขายเท่ากับ 24,841 ล้านบาท หรือคิดเป็น 43% และ 5% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB29NA (อายุ 4.6 ปี) LB284A (อายุ 3.0 ปี) และ LB353A (อายุ 10.0 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 34,265 ล้านบาท 24,873 ล้านบาท และ 24,561 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) รุ่น MTC273D (A-(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,896 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) รุ่น SCGC259A (A-(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,737 ล้านบาท และหุ้นกู้ของ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รุ่น WHA283B (A-) มูลค่าการซื้อขาย 1,053 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง 12-24 bps. หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงเร็วขึ้น ประกอบกับตลาดเกิดความกังวลภายหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้ มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) และมาตรการภาษีศุลกากรแบบครอบจักรวาล (Universal Tarrifs) ส่งผลให้ประเทศไทยถูกเรียกเก็บ ภาษีสินค้าที่นำเข้าสู่สหรัฐฯ 36% นักลงทุนบางส่วนจึงเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ด้านปัจจัยต่างประเทศ เอสแอนด์พี โกลบอล รายงานดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ประจำเดือนมี.ค.ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.2 จากระดับ 52.7 ในเดือนก.พ. ด้านปัจจัยในประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ประจำเดือนมี.ค.68 อยู่ที่ระดับ 100.35 หรือเพิ่มขึ้น 0.84% (YoY) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 1.00-1.10%
สัปดาห์ที่ผ่านมา (31 มีนาคม - 4 เมษายน 2568) กระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 14,439 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิ ในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 870 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 15,315 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 7 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ ม.ค. 2565
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (31 มี.ค. - 4 เม.ย. 68) (24 - 27 มี.ค. 68) (%) (1 ม.ค. - 4 เม.ย. 68) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 548,966.67 355,909.36 54.24% 5,630,428.11 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 109,793.33 88,977.34 23.39% 85,309.52 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 111.18 109.47 1.56% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (MTM Corp Bond Gross Price Index) 108.69 108.03 0.61% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (4 เม.ย. 68) 1.74 1.72 1.71 1.54 1.59 1.87 2.04 2.6 สัปดาห์ก่อนหน้า (27 มี.ค. 68) 1.88 1.87 1.85 1.77 1.83 2.06 2.27 2.72 เปลี่ยนแปลง (basis point) -14 -15 -14 -23 -24 -19 -23 -12