พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 เมษายน พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 43/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามัน และภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 เม.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นและมีคลื่นลมแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 12 - 15 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อนึ่ง ระยะนี้ชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้และควรดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และอาคารบ้านเรือน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย.จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้ผู้ที่ปลูกไม้ผลควรตรวจสอบและซ่อมแซมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้น ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 11 และ 15 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 เฉียงเหนือ ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้และควรดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้ควร
คลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย.จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนอง ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับฝนที่มีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน และหากต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้และควรดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยอาจติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน หากมีน้ำเพียงพอควรฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือน ถ้าน้ำมีน้อยควรนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน สำหรับในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย.จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในช่วงเจริญเติบโตและระยะผลิดอกออกผล ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน และหากต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้และควรดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย.จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 10 - 12 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิ
ต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 2 - 8 เมษายน 2568 มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน น่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และพังงา
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา